ภาษาอังกฤษที่ใช้ผิดบ่อยๆ

แกรมม่าและคำศัพท์ที่คนไทยเราใช้กันไม่ถูกต้อง

ภาษาอังกฤษที่นักเรียนไทยใช้กันผิดบ่อยๆ ซึ่งเราสามารถแก้ไขกันได้ง่ายๆ

เมษยา2021

แล้วทำไมเราถึงได้ใช้ภาษาผิดกันบ่อยๆ

แน่นอนว่าหลายคนคิดว่าภาษาอังกฤษไม่ง่ายเลย ใช้ยาก แต่จริงๆแล้ว ภาษาอังกฤษไม่ได้ยากอย่างที่คิด ภาษาอังกฤษก็เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร เหมือนที่เราใช้ภาษาไทยพูดคุยกัน และยิ่งถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว ภาษาไทยของเรายากกว่าภาษาอังกฤษมาก แล้วทำไมคนไทยเราถึงยังพูดภาษาอังกฤษกันแบบไม่ถูกต้องกันบ่อยๆ เหตุผลหลักๆก็น่าจะมีอยู่ 3 ประการ ซึ่งก็คือ

  1. พวกเรามักจะพยายามแปลภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษ
  2. เราใช้อักษรไทยช่วยในการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
  3. แล้วเราก็ยังพูดภาษาอังกฤษโดยฟังมาจากที่คนอื่นพูด โดยคิดว่าคำพูดนี้ถูกต้องแล้ว
สำหรับบทความนี้ จะพูดถึงภาษาอังกฤษที่คนไทยเรามักจะนำมาใช้พูด แต่จริงๆแล้วไม่ถูกหลักไวยากรณ์ภาษา ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ทุกคนที่ใช้ไม่ถูกต้อง แต่ก็ถือได้ว่าพบบ่อยมาก จนคิดว่าเราควรจะต้องมาแก้ไขให้ถูกต้อง แล้วพวกเราจะได้พูดภาษาอังกฤษให้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาได้มากที่สุด ให้ทุกคนชื่นชมในการใช้ภาษาอังกฤษของเรากัน โดยเราจะเริ่มจากที่ว่า เราใช้ภาษาอังกฤษไม่ถูกต้องตรงไหน แล้วทำไมเราถึงใช้กันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอธิบายว่าที่ถูกต้องคืออะไร บางอย่างก็เป็นเรื่องทางเทคนิคทักษะของภาษา ค่อยๆอ่านแล้วฝึกฝนไปด้วยกัน

woman making a mistake
การพูดผิด เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนภาษา !

1. "I used to go to Japan"

ผิดอย่างไร: การใช้ ‘used to’แทนการใช้ present perfect tense ในการพูดคุยถึงประสบการณ์ในอดีต
ทำไมถึงใช้กันแบบนี้:ก็เราไปแปลคำว่า “เคย /kəəi/”ให้เป็นคำภาษาอังกฤษ แล้วก็ใช้แบบนี้กันมาตลอด
คำอธิบาย:เรามาเริ่มกันที่ความเข้าใจในการใช้ ‘used to’ ในภาษาอังกฤษกันก่อนดีกว่า ว่าจริงๆแล้วมีความหมายว่าอย่างไรกันแน่ เมื่อใดก็ตามที่เราใช้คำว่า ‘used to’ สำหรับการทำบางอย่าง ในภาษาอังกฤษจะหมายถึงว่าเราทำอันนี้เป็นประจำในอดีต ลองคิดถึงตอนที่เราเป็นเด็ก เรามักจะขี่จักรยานกลับจากโรงเรียนเราเคยมีสุนัข หรือเราเคยเดินทางท่องเที่ยวช่วงปิดเทอมหน้าร้อน เราจะใช้ ‘used to ride your bike after school’, ‘used to have a dog’, or ‘used to travel every summer.’ ซึ่งนั่นเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้ทำแค่หนึ่งหรือสองครั้ง แต่ทำบ่อยๆเป็นประจำในอดีต แต่ตอนนี้เราไม่ได้ทำแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว
ในทางกลับกัน ถ้าเราทำกิจกรรมบางอย่างเพียงแค่ครั้งเดียว เช่น ไปเที่ยวที่ญี่ปุ่น หรือลองทานอาหารแปลกๆที่ไม่เคยทานมาก่อน เราจะไม่ใช้คำว่า ‘used to’แต่เราจะใช้ present perfect tense แทน  เราจะไม่พูดว่า “I used to go to Japan.” แต่จะพูดว่า “I have been to Japan.” และเราจะไม่พูดว่า “I used to try foie gras.”แต่พูดว่า “I have tried foie gras.”(ฉันเคยทานตับห่านแล้ว)
Present perfect (subject + have/has + past participle) เป็นไวยากรณ์ที่ถูกต้องเวลาพูดถึงประสบการณ์หนึ่งครั้งในชีวิตของเรา !

2. /ch/ vs. /sh/ phonics

ผิดอย่างไร: การออกเสียงสั้นและกระแทกของ /ch/ sound ถือเป็นเรื่องยากของคนไทย เหมือนที่คนต่างชาติรู้สึกว่าการออกเสียงวรรณยุกต์ไทยเป็นเรื่องยาก
ทำไมถึงใช้กันแบบนี้: การออกเสียง /ch/ sound นั้นไม่มีในภาษาไทย ดังนั้นเราต้องพยายามออกเสียงให้ใกล้เคียงที่สุดแทน
คำอธิบาย: จริงๆแล้วเราไม่ได้เข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการออกเสียงนี้ ่เพียงแค่การออกเสียงให้ได้อย่างเจ้าของภาษานั้นเป็นเรื่องยากสำหรับคนไทยเรา แต่ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าออกเสียงผิด คนฟังก็จะเข้าใจผิดความหมายไปเลย ตัวอย่างเช่น choose (เลือก)/shoes(รองเท้า), chip (มันฝรั่งอบกรอบ)/ship(เรือ), cheese(เนยแข็ง)/she’s(เธอคือ). แล้วเราสามารถออกเสียงคำเหล่านี้ให้ถูกต้อง และแตกต่างกันได้หรือไม่ ถ้าได้ เราก็เก่งมาก แต่ถ้าไม่ได้ ลองอ่านบทความต่อกัน
เสียง /ch/ sound เป็นเสียงสั้นและหนักว่าเสียง/sh/ sound. การจะออกเสียง /ch/ sound ให้ถูกต้องนั้น เราต้องออกเสียงโดยให้ปลายลิ้นแต่เพดานปาก ตรงด้านหลังฟัน แล้วพูดว่า (เฉอะ) “ch” หลายๆครั้ง เมื่อเราสามารถออกเสียงเริ่มต้นของเสียง “ch” sound ได้ถูกต้องแล้ว ลองพูดออกมาเป็นคำ เช่น คำว่า “chip”, “chop” และ “shoes” เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้ว การออกเสียง /sh/ sound ถือว่าค่อนข้างง่ายสำหรับคนไทย เสียงนี้จะยาวกว่า และเวลาที่ออกเสียงนั้น ลิ้นของเราจะอยู่ที่ด้านล่างในปาก ลองออกเสียงว่า “shhhh” ก่อนพูดคำว่า “ship”, “chop” และ “choose”ดู แล้วจะรู้ว่ามีความแตกต่างกันในการออกเสียงจริง

woman looking nervous
สาวคนนี้กำลังประหม่าหรือตื่นเต้นอยู่กันแน่?

3. Are you "nervous" or "excited"?

ผิดอย่างไร:  การใช้คำว่า ‘excited’ ในเวลาที่เรารู้สึกประหม่าหรือกลัวนิดหน่อย
ทำไมถึงใช้กันแบบนี้:  ดูเหมือนว่าคนไทยเราจะใช้แบบนี้กันมาตลอด เราส่งต่อกันไปเรื่อยๆโดยที่ไม่มีใครมาบอกว่าใช้ภาษาอังกฤษแบบนี้ไม่ถูกต้อง
คำอธิบาย: จริงๆแล้วเราแก้ไขได้ง่ายมาก ไม่ต้องใช้เทคนิคทางภาษาอะไรเลย เพียงแค่ต้องรู้ว่า เวลาที่เราประหม่า ซึ่งเป็นความรู้สึกในเชิงลบ เพราะเรากำลังกลัวหรือกังวลที่จะทำอะไร เราต้องใช้คำว่า ‘nervous’ และถ้าเราตื่นเต้น มีความสุขที่จะทำสิ่งนั้นๆ ซึ่งเป็นความรู้สึกเชิงบวก เราจะใช้คำว่า‘excited’ ลองมาดูตัวอย่างกัน :

  • “I can’t wait for my birthday party. I’m so excited!” ฉันอยากให้ถึงงานวันเกิดเร็วๆแล้ว ฉันตื่นเต้นมาก
  • “I haven’t studied enough. I’m really nervous for the exam.” ฉันยังอ่านหนังสือมาไม่พอเลย ฉันกังวลกับการสอบจริงๆ
  • “Are you excited to go on holiday?” คุณตื่นเต้นไหมที่กำลังจะไปเที่ยวในวันหยุด
  • “Are you nervous about visiting the dentist?” คุณกังวลที่จะไปหาหมอฟันใช่ไหม
จะเห็นได้ว่าการใช้คำศัพท์ทั้งสองคำนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในการสื่อถึงความรู้สึกที่เราจะทำอะไร ครั้งหน้าที่เราจะใช้คำว่า"excited" คนที่ได้ยินจะคิดว่าเรากำลังมีความสุขที่จะทำ ไม่ใช่ว่าเรากังวลหรือประหม่าที่จะทำสิ่งนั้น…

4. “Play phone” and “close the light” (verb-noun collocations)

ผิดอย่างไร: เราเลือกคำกริยามาใช้ไม่ถูกต้องกับคำนามนั้นๆ
ทำไมถึงใช้กันแบบนี้: ก็เพราะเราใช้คำศัพท์ไทยมาแปลเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษนั่นเอง
คำอธิบาย:คงต้องขอพูดถึงคำนิยามก่อน อย่างแรกคือ คำนาม ซึ่งเป็นได้ทั้งบุคคล สถานที่ และสิ่งของ ส่วนคำกริยาคือการกระทำ เช่น เล่น เต้นรำ หรือร้องเพลง เป็นต้น สุดท้ายคือ การจัดระเบียบคำศัพท์กับคำกริยาเพื่อให้เป็นประโยคคำพูด พูดภาษาอังกฤษออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนเจ้าของภาษาพูด
เวลาเราพูดภาษาไทยเราจะพูดว่า เล่นโทรศัพท์ หลายคนถึงไปใช้ภาษาอังกฤษว่า “play” your phone แต่ที่ถูกต้องสำหรับภาษาอังกฤษคือ เราต้องใช้คำว่า ‘use’ตามตัวอย่างนี้ “I use my phone every day on the way to work.”(ฉันใช้โทรศัพท์ทุกคนตอนเดินทางไปที่ทำงาน)หรือ “Can you stop using your phones during the meeting, please?” (คุณช่วยหยุดเล่นโทรศัพท์เวลาประชุมได้ไหม)
แล้วเรื่องปิดเปิดไฟกับแอร์ในห้องล่ะ เรามักจะใช้คำว่า “close”(ปิด) ใช่ไหม แต่ในภาษาอังกฤษเราใช้แบบนี้ไม่ได้ สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า เราต้องใช้ “turn off”(ปิด)และ “turn on” (เปิด) เช่น “Please turn off the air conditioning, it’s too cold in here.” (ช่วยปิดแอร์หน่อยครับ อากาศเย็นในนี้เย็นเกินไป)
จริงๆแล้วยังมีอีกหลายตัวอย่างมากเกี่ยวกับการใช้กริยาในภาษาอังกฤษที่ไม่เหมาะกับคำนามที่ใช้ ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงไว้เสมอ โดยเฉพาะ อย่าใช้คำภาษาไทยแปลตรงตัวเป็นภาษาอังกฤษ เพราะในภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาไทย!

5. I’m "bored" of being "boring" (-ed and -ing adjectives).

ผิดอย่างไร: เราใช้สองรูปของคำศัพท์นี้โดยไม่ระวังว่าความหมายจะแตกต่างกันไปเลย
ทำไมถึงใช้กันแบบนี้: ก็น่าจะเป็นจากการที่พวกเราใช้กันแบบนี้มาเรื่อยๆ โดยไม่มีใครมาบอกว่าผิด
คำอธิบาย: Bored (รู้สึกเ่บื่อ)หรือ boring (น่าเบื่อ)? Interested (รู้สึกสนใจ) หรือ interesting (น่าสนใจ)? Terrified (รู้สึกกลัว) หรือ terrifying (น่ากลัว)? ทุกคำศัพท์ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ล้วนแต่เป็นคำขยายกริยา (adjectives) แล้วเราใช้ต่างกันอย่างไร อธิบายได้ง่ายๆคือ
ลองดูที่รูปแล้วคิดว่าเกิดอะไรขึ้น สัตว์ประหลาดกำลังไล่ล่าคนอยู่ ใช่หรือไม่ แล้วคนๆนี้กำลังรู้สึกอะไรอยู่ อะไรเป็นสาเหตุให้เขารู้สึกแบบนั้น แน่นอนว่าเขาคนนี้กำลังรู้สึกกลัว (The man is terrified.)เพราะว่าสัตว์ประหลาดนั้นน่ากลัว (The monster is terrifying.) คำขยายกริยาที่บรรยายว่าเรารู้สึกอย่างไรจะเติม -ed ต่อท้ายคำนั้นๆ ส่วนคำขยายกริยาที่บรรยายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกกลัว จะเติม -ing ต่อท้ายคำ
คราวนี้มาลองใช้กันดู ลองสร้างประโยคโดยใช้คำศัพท์เหล่านี้: bored(รู้สึกเบื่อ)/boring(น่าเบื่อ), interested(รู้สึกสนใจ)/interesting(น่าสนใจ), worried(รู้สึกเป็นห่วง)/worrying(น่าเป็นห่วง)
อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ บางครั้งที่คำขยายกริยาลงท้ายด้วย -ing อาจจะดูเหมือนเราใช้คำกริยาที่เป็นการกระทำที่กำลังทำอยู่ คือใช้ verb ตามด้วย -ing นั้น เราต้องไม่ลืมว่าเป็นหลักแกรมม่าที่ไม่เหมือนกันเลย และมีความหมายที่ต่างกันด้วย เช่น คำว่า “boring” สามารถเป็นทั้งคำขยายกริยา หรือเป็นคำกริยาที่กำลังทำอยู่ก็ได้!

monster chasing man
เราจะรู้สึกอย่างไร ถ้ามีสัตว์ประหลาดไล่ล่าเรา ?

แล้วเราจะทำอย่างไรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษแบบผิดๆนี้?

บทความนี้พูดถึงภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันผิดบ่อยๆเวลาพูดภาษาอังกฤษ ไม่ต้องกังวลว่าเราจะใช้ภาษาอังกฤษไม่ถูกต้องจนไม่กล้าพูด มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้เราลดข้อผิดพลาดนี้ลงได้ ขั้นแรกก็คือ ต้องมีสติเวลาที่การพูดภาษาอังกฤษออกไป และถ้ารู้ว่าเราพูดผิดก็ต้องรีบแก้ไข เปิดใจเวลาที่มีคนบอกว่าเราใช้ภาษาตรงนี้ไม่ถูกต้อง แล้วก็ปรับปรุงการใช้ภาษาอังกฤษของเรา ค่อยๆทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เราก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆทีละเล็กทีละน้อย ความผิดพลาดเป็นครูของเราเสมอถ้าเรารู้จักเพิ่มพูนทักษะความรู้ทางภาษาให้กับตัวเราเอง แล้วที่สุดเราก็จะเป็นคนที่พูดภาษาอังกฤษได้เก่งเหมือนเจ้าของภาษา
อีกวิธีที่เราทำได้ง่ายๆคือ ไปเรียนภาษาอังกฤษกับสถาบันสอนภาษาที่มีคุณภาพ คุณครูเจ้าของภาษาที่เก่งๆและมีประสบการณ์ในการสอนจะช่วยให้เราประหยัดเวลาในการที่ทำให้ตัวเราเองพูดภาษาอังกฤษได้เก่งเร็วๆ คุณครูจะช่วยบอกข้อผิดพลาดรวมถึงแก้ไขให้เราในทันทีที่เราพูดไม่ถูกต้อง และเรายังได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษาโดยตรงอีกด้วย มีหลายการศึกษายืนยันว่า วิธีที่จะเก่งภาษาอังกฤษได้เร็วที่สุดก็คือเรียนตัวต่อตัวกับครูเจ้าของภาษาที่เชี่ยวชาญนั่นเอง

Edward A.

เมษายน 2021